Powered By Blogger

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ก้าวแรกสู่วิศวกร ตอน การจับสายรหัสและการประชุมเชียร์ V 2

                          จากความเดิมตอนที่แล้วผมได้นำเสนอ ก้าวแรกสู่วิศวกร ตอน วันรายงานตัวมาแล้วทีนี้ล่ะจะเล่าสู่กันฟังตอนต่อไปเรื่องการจับสายรหัสและการประชุมเชียร์ของวิศวะลาดกระบังว่าจะเป็นอย่างไรสำหรับนักศึกษาใหม่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฏของ Smo Engineering หรือสโมสรนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
                          วันรายงานตัวเสร็จแล้วละเจ้าที่เจ้าทางจ้ามันร้อนจนทำให้ลูกช้างไม่ไหวแล้วล่ะอยากจะรู้ว่าเขาเรียนหรือทำอะไรกันบ้าง ถัดจากนั้นประมาณสองสามวันคณะจะมีการจับสายรหัสเพื่อให้น้องใหม่ได้ใช้พี่รหัสเป็นสรณะทางใจหรือจะเป็นทางการเรียนก็แล้วแต่ฟังดูแล้วนี่มันศาสนาแล้วนะพี่ แหม๋ก็ศาสนาเป็นศูนย์ร่วมทางจิตใจนี่น๊า พี่รหัสจะมีหน้าที่ดูแลน้องคอยถามสารทุกข์สุขดิบและมอบตำราดีๆที่พี่ๆได้อาบน้ำร้อนมาก่อน สอนเราให้เดินรอยตามแม้ว่าพี่ๆจะปฏิบัติออกนอกลู่บ้างแต่ก็จะสอนเราในสิ่งที่เป็น อิทธิบาท 4 และสิ่งดีๆที่ให้เราภูมิใจกับสถาบันที่อุตส่าห์ฟ่าฟันผู้แข่งขันนับหมื่น แต่เดี๋ยวก่อนเว้อไปรึป่าวหมื่นคนอ่ะ ขอบอกกันตรงนี้เลยนะครับกว่าจะเข้ามาได้ด้วยวิธีรับตรงหรือแอดมิสชั่นกลางนั้นต้องใช้ความรู้ความสามารถพอสมควร ไม่ใช่จับสลากขอพรเทวดาฟ้าดิน พระอินทร์ พระสงฆ์ แหวนหลวงพ่อคอแทบหักดั่งองค์คุลีมารแหวนนิ้วคนเพื่อจะได้สำเร็จวิชา หวังจะได้โอกาสเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเฟืองซี่เล็กๆที่คอยหมุนราวกับปิดทองหลังพระ ท่านเคยได้ยินคำนี้ไหมครับว่า กว่าจะENTติดนั้นยากยิ่ง แต่การรักษาสภาพนักศึกษาไว้นั้นยากยิ่งกว่า ใช่แล้วครับมีหลายคนที่เข้ามาได้แต่เรียนไม่ไหวออกไปโดนรีไทร์ก็เยอะครับเสียดายโอกาสตรงนั้นเพราะหลายๆคนอยากจะมีส่วนร่วมในการเข้าศึกษาเข้าสู่สถาบันแห่งนี้ก็มากมายกายกองตระบองยอดเพชรเจ็ดสีมณีเจ็ดแสงเลยละครับ เรียนอะไรบ้างเหรอทำไมถึงง่ายอย่างกับปลอกกล้วยเข้าปากและโดนรีไทร์มันหมายความว่าไงล่ะ คงเป็นคำถามที่หลายๆคนต้องการคำตอบแต่ใจเย็นๆครับเดี๋ยวผมจะกล่าวตอนต่อไปแบบเจาะลึกว่าแต่ละวิชาของการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ว่าเรียนอะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง กว่าจะผ่านปีหนุึ่งไปได้ต้องทำยังไง
                        เล่ามายาวเลยเกี่ยวกันไหมเนี่ยก็เกริ่นไว้ก่อนนะครับว่า ถ้าจะเรียนในสาขานี้แล้วต้องตั้งใจและให้เวลากับการเรียนให้มากเพราะการอ่านหนังสือของเราต้องมีวินัย นี่มันมหาลัยนะครับไม่ใช่ม ปลาย พลาดแล้วพลาดเลยไม่มีโอกาสแก้ตัว ไม่มีคะแนนเก็บ ทำ Mapping ระบายสี ร้อยมาลัย รำวงมาตราฐาน เดินยกหนอ เหยียบหนอ ย่างหนอ นะครับ เอาละเข้าเรื่องแล้วนะจะขอบรรยายโวหารตามหลักพุทธศาสนิกชนนะครับในหัวข้อการจับสายรหัสว่า 
++สายรหัสคืออะไรคือสายดีเอ็นเอหรืออาเอ็นเอรึป่าว   ถ้าคิดถึงสายรหัสก็ลองนึกเหมือนครอบครัวนะครับว่าน้องใหม่เปรียบเสมือนลูก ปีสองเปรียบเสมือนผู้ปกครอง ปีสามเป็นตา ยาย ปีสี่เป็นทวดครับ แล้วจะมีพี่ปีแก่ที่จบไปแล้วกลับมาเยี่ยมน้องๆตลอดในวันเข้าเชียร์หรือวันลาสเชียร์ทำให้เลือดครอบครัวพระจอมเกล้ากลับมาอบอุ่นเหมือนตอนอยู่บ้านเลยละครับเดี๋ยวจะเล่าต่อนะครับเกี่ยวกับการเข้าเชียร์  ลาสเชียร์เป็นยังไง
                         การจับสายรหัสจะแบ่งเป็นห้องๆครับโดยยึดถืออักษรชื่อจริงของน้องใหม่ตามทะเบียนบ้าน เฮ้อไม่ต้องบอกกุก็ได้ว่าตามทะเบียนบ้านกุรู้หนะ ห้องหนึ่งจะมีพี่ๆทุกภาควิชาโดยน้องที่จับได้พี่คนไหนพี่คนนั้นก็จะเป็นที่ปรึกษาให้น้องได้ทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องกินถ้าไปกับพี่ อย่าคิดมากนะครับกินคือทานอาหารหนะครับ ไม่ต้องออกตังนะครับเขายึดถือตามกฏของพระจอมว่าห้ามให้น้องออกเงินแม้บาทเดียวก็ไม่ได้ พี่ต้องเป็นคนจ่ายทั้งหมดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากนั้นพี่ๆก็จะมอบตำราเรียนให้น้องเพราะน้องๆปี 1 จะต้องเรียนเหมือนกันหมดต่างกันที่บางสาขาเช่น โยธา เกษตร จะเรียน แมคคานิคเป็นข้อเขียน ส่วนภาคอื่นๆจะเป็นเลือกแต่ตอบผิดจะติดลบทำให้โหดเพิ่มขึ้นไปอีก แถมตำราที่ใช้ก็ ENG ล้วนๆ คำนวณก็ยาก ไม่รู้จะเรียนไปทำห่า ทำเหว อะไรหนักหัวตื้อหมดเลยละครับ แต่เรียนไปเรื่อยๆแมคคานิคนี้แหละครับสุดยอดของวิชาแห่งกลศาสตร์วิศวกรรมนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสะพาน รถเครน หรือการเคลื่อนที่ต่างๆ เป็นพื้นฐานของการสร้างอุโมงค์ วิชาต่างๆของโยธา น้องๆที่เรียนโยธาถ้าไม่ผ่านวิชานี้ตั้งแต่ปีแรกก็ไม่จบสี่ปีเท่าเพื่อนะครับเพราะเป็นวิชาตัวต่อ งงไหมครับวิชาตัวต่อก็คือต้องผ่านตัวแรกถึงจะลงเรียนตัวสองได้ เอาพอประมาณก่อนครับเดี๋ยวจะหมดสนุก อิอิ ต่อกันเลยเนอะ ถึงไหนแล้วเนี่ย อ้อพอได้รู้จักกับพี่รหัสพอสมควรวัน First Cherer ก็มาถึง วัน  First Cherer ก็คือวันที่นักศึกษาใหม่จะต้องเข้ารับการฝึกร้องเพลงต่างๆของคณะที่เหล่า SMO ได้วางไว้โดยมีว๊ากเกอร์เป็นผู้ควบคุม ผมเข้าวันแรก แมร่งหยั่งกับทรมานสัตว์เลยละครับพ่อแม่พี่น้อง โดยเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดกันมายาวนาน เพื่อฝึกความอดทนและรักสถาบันของตนโดยไม่ให้ใครมาหยามได้ การเข้าประชุมเชียร์วันแรกก็ยืนตากแดดครับ ยืนแมร่งอย่างนั้นแหละกุจะเกาก็ไม่ได้เหมือน ร ด เลยครับแต่ต่างกันที่เข้มกว่ารด เยอะมาก ไม่มีหัวเราะ ไม่มีเฮอา มีแต่ใจเท่านั้นนะครับ ใครมาก่อนก็ต้องรอเพื่อนจนกว่าคนสุดท้ายจะมาถึง โดยว๊ากเกรียนๆจะบอกว่า ไม่ต้องรีบ เพื่อนคุณรออยู่ ผมก็อุทานในใจแต่ติดใจกับไม่กล้าพูดว่า อ้าวไอนี่แล้วมรึงจะบอกกุทำซากอ้อย กล้วยตาก ซากกระเบือ เรือไททานิคล่มทำบ้า ห่าอะไรมรึง หลังจากทุกคนเข้าแถวกันเสร็จแล้ว พวกว๊ากเกรียนๆก็จะอบรมสั่งสอนให้น้องใหม่ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองของสถาบันเพื่อที่จะเป็นพี่ในอนาคต
                       วันแรกของการเชียร์ทาง SMO จะมีสมุดเชียร์หน้าปกสีเลือดหมูหรือสีแดงให้คนละ 1 เล่ม แต่จะเป็นรหัส 4 ตัวท้ายที่ต่างกัน โดยแต่ละคนจะได้รหัสที่ไม่ใช่ของตน โดยมีกฏว่าให้หารหัสตนเอง เอ้าละซิงานเข้าแล้วละกุ กุจะไปรู้ได้เรอะเด็กแมร่งตั้งพันกว่าหากันจนขอบตาต้องพึ่งมอยเจอร์ไร้เทรนนิ้งก็ไม่เจอหรอก อย่าคิดมากเลยไม่เจอก็ไม่เป็นไรครับ แต่เขาฝึกให้เราตามงาน ฝึกความรับผิดชอบของเรานะครับ แถมยังมีกิจกรรมเยอะมากๆที่เขียนไม่หมดให้น้องได้ทำ ได้ตามงานและทดสอบเราว่างานแค่นี้ทำได้รึป่าว รับผิดชอบได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็อย่าหวังจะรับผิดชอบงานที่วิศวกรจะต้องดูแลคนเป็นล้านๆๆคนเลยครับ จากนั้นว๊ากเกอร์ก็ให้พี่สองคนชายหญิงบนเวทีและพี่ปีสองที่เป็นพี่เลี้ยงยืนล้อมน้องๆกว่าพันคนและพี่ๆปีสามและปีสี่ที่ตามมาให้กำลังใจน้องๆ หวังจะให้น้องผ่านการร้องเพลงครั้งนี้ไปให้ได้ โดยเพลงที่น้องจะต้องร้องให้เป็นเพลงแรกก็คือเพลงสถาบัน ว๊ากเกอร์จะบอก เพลงสถาบัน เพลงสถาบัน หนึ่ง สอง สาม จากนั้นพวกเราก็ร้องตาม โดยเพลงจะต้องถูกทั้งวรรคตอนและทำนองเพลง และจะทดสอบเพลงตอนท้ายว่าความสามัคคีขนาดนี้จะผ่านบททดสอบที่เหล่าประธานเชียร์ตั้งไว้รึป่าว ตอนนั้นเสียงร้องมันหระหึ่มก้องไปทั่วบริเวณหอประชุมเลยละครับ ฟังแล้วขนลุกสุ้มาก ต่างช่วยกันร้องอย่างสุดชีวิตแหกปากโวยวายเหมือนแม่ค้าตลาดสดขายของกันเลยละ ในที่สุดประธานเชียร์ก็กล่าวชื่นชมและให้ผ่านเพลงนั้นไปอย่างไร้ข้อกังขา วันแรกของการเชียร์ก็จบลงด้วยดี และมีนัดครั้งต่อไปโดยเขาจะบอกว่านัดวันไหนเวลาเท่าไร แต่ส่วนมากตอนเย็นๆครับ เพราะเด็กจะติดเรียนกัน ก็เลยรอให้เขาเรียนก่อนแล้วถึงมาฝึกร้องเพลงและฝึกความอดทนกันอีกครั้ง ส่วนตัวผมแล้วมันเป็นความโชคดีทุกครั้งไม่รู้ว่านับถือบูชาดราก้อนบอลรึป่าว ตลอดที่มีการเชียร์เพราะติด LAB ทุกครั้งเลยไม่ต้องไปนั่งทรมานให้พวกว๊ากมันตะโกนใส่เหมือนตีกลองร้องทุกข์ดั่งสมัยพ่อปกครองลูกนะครับ อยากรู้ไหมครับว่าถ้าผ่านเชียร์จะได้อะไร เดี๋ยวลองอ่านต่อสักนิดแล้วจะรู้ในความหมายของการประชุมเชียร์นะครับ ผมเข้าเชียร์ไม่กี่ครั้งเลยร้องเพลงไม่ค่อยจะได้สักเท่าไร แต่วันลาสเชียร์หรือวันสุดท้ายของการเชียร์เป็นบททดสอบของนักศึกษาใหม่พันกว่าคนที่เพื่อนๆจะร่วมกันสอบเพลงที่พี่ๆสอนมาตลอดระยะเวลาเกือบสองเดือน ผมก็เข้าไปช่วยเพื่อนสอบเพลงเพื่อที่จะได้รุ่น 49 มานั้น มันไม่ง่ายเลยครับ เพราะสอบไปไม่ผ่านเยอะมาก จนทุกคนเริ่มท้อ จากนั้นพี่ๆทุกชั้นปีประมาณเกือบ สามสี่พันคนมาให้กำลังใจน้อง ยืนล้อมน้องเพื่อที่จะให้กำลังใจ กล่าวปลุกระดมเหมือนม็อบประท้วงเลยละครับ ให้น้องสู้ ช่วยกันร้องแหกปากให้ถึงหูแล้วตามด้วย มรึงรุ่นเดียวกันเอาเปรียบกันได้ไง โดยย้ำเข้าไปในหัวใจเสมอว่า "ที่นี่วิศวะลาดกระบัง ไม่ต้องการคนเห็นแก่ตัว คนเห็นแก่ได้" พี่ๆบอกและตามด้วยว๊ากตะโกน เหมือนลำโพงงานวัดปล่อยคลื่นความถี่พันวัตต์เลยละครับ โดยมีเสียงEcgoจากว๊ากต่างๆน๊าเหมือน พวกมันเคยทำงานในแกรมมี่ อาร์เอสอย่างนั้นแหละ เสร็จจากตรงนั้นพี่รหัสเราก็นำอาหารมาให้ทานโห แม่เจ้ามันเยอะไปหมดนะครับไม่ว่าจะเป็น พิสซ่า เคเอฟซี สัมตำ ไก่ยาง น้ำลายไหลละซิ เยอะมากๆครับ ผมจำได้ว่าวันลาสเชียร์เป็นวันที่ประทับใจสุดๆ ก็คือตอนที่ได้เพลงประจำรุ่นคือเพลงถื่นชงโคและการบูม 49 บูม "เฮเฮเฮ ฮาฮาฮา ฮาฮาฮา เฮเฮเฮ Who are we เทคโนโลยี ลาดกระบัง ลา" นี่คือหนึ่งบูมนะครับเขาจะปิดไฟทุกดวงแล้วจุดเทียนรอบหอประชุม ภาพวันนั้นมันสวยเหมือนหิ่งห้อย ณโฮมสเตย์ที่อัมพวาเลยละครับ พอเสร็จจากบูมก็จะ เฉลยพี่ๆที่เป็นว๊ากเกอร์ว่าพี่เค้า เรียนอะไรสาขาอะไรชื่ออะไร ตอนนี้มีฮาๆครับ จำได้ว่า เสร็จกิจกรรมประมาณตีสองตีสามแล้วละครับ ผลสุดท้ายก็ได้เกียร์ทองมาคล้องคอดั่งเป็นหัวใจของการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในเชิงสัญญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น